หน่วยการเรียนรู้ที่ 2
ความน่าเชื่อถือของข้อมูล
1. การสืบค้นเพื่อหาแหล่งข้อมูล
ในปัจจุบันการได้มาซึ่งข้อมูลในยุคดิจิทัลเพื่อนำไปใช้ประโยชน์นั้น
สิ่งสำคัญสิ่งหนึ่ง คือ ความน่าเชื่อถือของข้อมูล
ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญต่อคุณภาพของข้อมูล หากข้อมูลที่เก็บรวบรวมได้ไม่มีความเชื่อถือ
ก็ไม่สามารถนำข้อมูลดังกล่าวไปใช้ประโยชน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
โดยความเชื่อถือของข้อมูลจำเป็นต้องเริ่มจากการสืบค้นเพื่อหาแหล่งข้อมูลที่มีคุณภาพ
จากนั้นจึงดำเนินการประเมินความน่าเชื่อถือของข้อมูลไปตามลำดับ
การสืบค้นแหล่งข้อมูล
คือ กระบวนการค้นหาข้อมูลที่ต้องการ โดยใช้เครื่องมือต่าง ๆ เช่นคอมพิวเตอร์
การสืบค้นเพื่อหาแหล่งข้อมูลสามารถทำได้ ดังนี้
1. การสืบค้นข้อมูลด้วยมือ เป็นการสืบค้นข้อมูลจากเอกสาร หนังสือ ตำรา
โดยสามารถสืบค้นจากสถานที่ หรือหน่วยงานที่จัดเตรียมข้อมูลต่าง ๆ ไว้ให้ เช่น
ห้องสมุดในโรงเรียน เอกสารแผ่นพับแนะนำข้อมูลด้านสุขภาพในโรงพยาบาล
2. การสืบค้นข้อมูลด้วยระบบคอมพิวเตอร์ เป็นการสืบค้นข้อมูลผ่านเทคโนโลยีหรืออุปกรณ์คอมพิวเตอร์
เช่น การสืบค้นข้อมูลจากระบบฐานข้อมูล ข้อมูลออนไลน์
ข้อมูลบนอินเทอร์เน็ตข้อมูลจากโปรแกรมค้นหา (Search Engine)
1.1 ตัวอย่างการสืบค้นเพื่อหาแหล่งข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต
การสืบค้นข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต
เป็นวิธีการสืบค้นด้วยระบบคอมพิวเตอร์ที่กำลังเป็นที่นิยมในปัจจุบัน
เนื่องจากเป็นแหล่งข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ที่สำคัญและใหญ่ที่สุด มีการอัปเดตอยู่ตลอดเวลาแทบทุกวินที
การสืบค้นข้อมูลบนอินเทอร์เน็ตควรดำเนินการ ดังนี้
กำหนดวัตถุประสงค์ของการสืบค้น
ผู้สืบค้นที่จะนำข้อมูลไปใช้ควรตั้งวัตถุประสงค์การสืบค้นให้ชัดเจน
ทำให้สามารถกำหนดขอบเขตของแหล่งข้อมูลที่จะสืบค้นให้แคบลง เพื่อกำหนดประเภทของเครื่องมือ
หรือโปรแกรมสำหรับใช้ในการสืบค้นทางอินเทอร์เน็ตที่เรียกว่า โปรแกรมค้นหา
ให้เหมาะสม
ประเภทของข้อมูลที่สามารถสืบค้นได้
ข้อมูลที่อยู่บนอินเทอร์เน็ต
มีมากมายหลายประเภท เช่น ข้อความ ภาพวาด ภาพถ่าย เสียง จากเทคโนโลยีการสืบค้นที่มีอยู่ในปัจจุบัน
การสืบค้นที่เร็วและมีประสิทธิภาพมากที่สุด คือ การสืบค้นข้อมูลประเภทข้อความ
อุปกรณ์และความรู้ที่ใช้ในการสืบค้น
จะต้องมีการเตรียมอุปกรณ์
ดังต่อไปนี้ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตนอกจากอุปกรณ์ต่าง ๆ ยังต้องมีความรู้และทักษะพื้นฐานในการใช้งานคอมพิวเตอร์
ความรู้ภาษาอังกฤษ เนื่องจากข้อมูลส่วนใหญ่ในอินเทอร์เน็ตเป็นภาษาอังกฤษ และยังต้องมีการจัดสรรเวลาให้เหมาะสมอีกด้วย
บริการอินเทอร์เน็ต
เป็นบริการที่สามารถใช้ช่วยในการสืบค้นข้อมูลซึ่งมีมากมายหลายบริการ
เช่น บริการเครือข่ายใยแมงมุมโลก หรือ Word-Wide-Web (WWW) บริการสอบถามผ่านทางจดหมายอิเล็กทรอนิกส์หรือการสนทนาออนไลน์กับผู้ใช้งาน
เครื่องมือหรือโปรแกรมสำหรับสืบค้น
มีอยู่มากมายและมีให้บริการอยู่ตามเว็บไซต์ต่าง
ๆ ที่ให้บริการในการสืบค้นข้อมูลโดยเฉพาะการเลือกใช้นั้นขึ้นอยู่กับประเภทของข้อมูลที่ต้องการสืบค้นจากโปรแกรมค้นหาต่าง
ๆ
ในประเทศไทยการเรียนการสอนเกี่ยวกับอินเทอร์เน็ต
ส่วนใหญ่เป็นไปในลักษณะของการเปิดอบรมหลักสูตรระยะสั้นให้แก่สมาชิกเครือข่าย
หรือประชาชนผู้สนใจทั่วไปแต่จะมีสถาบันการศึกษาหลายแห่งได้จัดให้มีการเรียนการสอนเกี่ยวกับอินเทอร์เน็ตโดยจัดให้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษารายวิชาต่าง
ๆ ให้แก่นักศึกษา ทั้งนี้ เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมในการที่จะนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการค้นคว้าวิจัย
หรือทำรายงานในรายวิชาต่าง ๆ และเป็นการเรียนรู้ด้วยตนเอง
1. ประโยชน์และโทษของอินเทอร์เน็ต อินเทอร์เน็ตเป็นเทคโนโลยีการสื่อสารที่อำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้บริการ
ในลักษณะของการสื่อสารที่ผ่านทางคอมพิวเตอร์ จึงทำให้เกิดทั้งประโยชน์และโทษในการสื่อสารบนอินเทอร์เน็ต
ประโยชน์ของอินเทอร์เน็ต
มีหลากหลายลักษณะตามการใช้งาน ทั้งการติดต่อสื่อสารและการอำนวยความสะดวกต่าง ๆ
ในชีวิตประจำวัน ดังนี้
โทษของอินเทอร์เน็ต
มีหลากหลายลักษณะทั้งที่เป็นแหล่งข้อมูลที่เสียหาย ข้อมูลไม่ดีไม่ถูกต้อง เป็นที่รวมและกระจายของไวรัสคอมพิวเตอร์ต่าง
ๆ ดังนี้
2. คุณธรรมและจริยธรรมในการใช้อินเทอร์เน็ต เนื่องจากอินเทอร์เน็ตเป็นระบบเครือข่ายขนาดใหญ่ที่เกิดจากการเชื่อมต่อเครือข่ายขนาดเล็กจำนวนมากเข้าด้วยกัน
เมื่อมีระบบเครือข่ายเกิดขึ้นจะทำให้สามารถสื่อสารกับผู้อื่นผ่านทางระบบเครือข่ายได้
แต่สิ่งที่ขาดไปไม่ได้เลยในการที่เราจะอยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างสงบสุข คือ มารยาทและกฎกติกาของสังคม
ดังนั้น จึงจำเป็นจะต้องรู้จักกฎ กติกา มารยาท และคุณธรรม และจริยธรรมในการใช้อินเทอร์เน็ต
เพื่อเป็นการให้เกียรติและไม่ละเมิดสิทธิของผู้อื่น สำหรับคุณธรรมและจริยธรรมในการใช้อินเทอร์เน็ตที่ควรปฏิบัติ
มีดังนี้
1)
ใช้ถ้อยคำที่สุภาพในการสื่อสาร และการใช้งานบนอินเทอร์เน็ต
2)
หากพบข้อความหรือรูปภาพบนอินเทอร์เน็ตที่มีลักษณะหยาบคายหรือไม่เหมาะสมควรแจ้งให้ผู้ปกครองทราบทันที
3)
ไม่ใช้อินเทอร์เน็ตในการละเมิดสิทธิของผู้อื่น เช่น
พยายามเข้าถึงข้อมูลของผู้อื่นโดยไม่ได้รับอนุญาต
การคัดลอกข้อมูลโดยไม่ได้รับอนุญาต
4)
ไม่บอกข้อมูลส่วนตัว เช่น ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ ชื่อโรงเรียนของตนให้แก่บุคคลอื่น
ที่รู้จักกันทางอินเทอร์เน็ต โดยไม่ได้รับอนุญาตจากผู้ปกครองก่อน
5)
ไม่ใช้อินเทอร์เน็ตทำลายผู้อื่น เช่น การเผยแพร่ซอฟต์แวร์ประเภทไวรัสไปยังผู้อื่น
6)
ไม่ใช้อินเทอร์เน็ตหลอกลวงผู้อื่น เช่น การสนทนาผ่านเครือข่ายเพื่อการหลอกลวง
7)
ไม่ใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อเผยแพร่ข้อมูลอันเป็นเท็จ เช่น
การเผยแพร่ข้อมูลที่ไม่เป็นความจริง
การเผยแพร่ข้อมูลจากแหล่งที่ไม่มีความน่าเชื่อถือ
8)
ควรเคารพต่อข้อตกลงในการใช้อินเทอร์เน็ตที่ให้ไว้กับผู้ปกครอง เช่น
กำหนดระยะเวลาในการใช้อินเทอร์เน็ตหรือเว็บไซต์ที่ผู้ปกครองอนุญาตให้เข้าได้
9)
ใช้ประโยชน์จากอินเทอร์เน็ตในทางที่ถูกต้อง เช่น การสืบค้นข้อมูลทางด้านการศึกษาเพื่อหาความให้รู้เท่าทันเทคโนโลยีหรือสื่อสังคมออนไลน์ต่าง
ๆ โดยงดเว้นการใช้งานอินเทอร์เน็ตในทางที่ผิด เช่น การเข้าเว็บไซต์ที่ผิดศีลธรรม
ผิดกฎหมาย
3.
เครื่องมือสำหรับสืบค้นข้อมูลผ่านอินเทอร์เน็ต
คือ เครื่องมือที่ใช้สำหรับสืบคันข้อมูลผ่านอินเทอร์เน็ต โดยโปรแกรมค้นหาจะทำการสืบค้นข้อมูลจากคำสำคัญ
(Keyword)
และทำการแสดงผลลัพธ์การสืบค้นแบบเรียงลำดับ
ซึ่งจะเรียงลำดับเว็บไซต์ที่เผยแพร่ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับคำสำคัญดังกล่าว
โดยเว็บไซต์ที่นิยมในปัจจุบัน เช่น www.google.com, www.yahoo.com,
www.bing.com ประเภทของโปรแกรมค้นหาสามารถแบ่งตามลักษณะการทำงานได้ 3 ประเภท ดังนี้
ประเภทที่
1
Crawler Based Search Engines
Crawler Based
Search Engines คือ เครื่องมือการค้นหาบนอินเทอร์เน็ตแบบอาศัยการบันทึกข้อมูลและจัดเก็บข้อมูลเป็นหลัก
ซึ่งการจัดเก็บข้อมูลนั้นจะใช้ซอฟต์แวร์ขนาดเล็กที่เรียกว่า Web Crawler เพื่อทำการเก็บข้อมูลจากเว็บไซต์ต่าง ๆ แล้วส่งข้อมูลเหล่านั้นไปบันทึกยังฐานข้อมูลของโปรแกรมค้นหา
ซึ่งโปรแกรมคันหาประเภทนี้ เป็นประเภทที่ได้รับความนิยมสูงสุดในปัจจุบัน เนื่องจากให้ผลการค้นหาที่แม่นยำ
และการประมวลผลการสืบค้นสามารถทำได้อย่างรวดเร็ว ตัวอย่างโปรแกรมค้นหาประเภทนี้
เช่น www.google.com, www.yahoo.com, www.bing.com
ประเภทที่
2
Web Directory หรือ Blog Directory
Web Directory
หรือ Blog Directory คือ
สารบัญเว็บไซต์ที่ถูกจัดเก็บโดยเว็บไซต์ที่ไห้บริการ Web Directory และการจัดเก็บนั้นจะแบ่งข้อมูลออกเป็นหมวดหมู่ ซึ่งจะมีการสร้างดรรชนี
มีการระบุหมวดหมู่อย่างชัดเจนทำให้การสืบค้นข้อมูลทำได้อย่างรวดเร็ว
เนื่องจากข้อมูลถูกกำหนดหมวดหมู่ไว้แล้ว แต่โปรแกรมค้นหาประเภทนี้เหมาะสำหรับการสืบค้นข้อมูลที่เฉพาะด้าน
หรือเฉพาะเจาะจงในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เพราะในปัจจุบันข้อมูลในอินเทอร์เน็ตมากมายมหาศาล
ในหลาย ๆ กรณี Web Directory ไม่สามารถจัดเก็บหมวดหมู่ข้อมูลที่มีมหาศาลนี้ได้อย่างครบถ้วน
แต่หากเป็นข้อมูลเฉพาะด้าน เช่น
ข้อมูลด้านการเขียนชุดดำสั่งโปรแกรมภาษาคอมพิวเตอร์ เว็บไซต์ที่ให้บริการ Web
Directory จะจัดเก็บข้อมูลได้สะดวกกว่า โดยเว็บไซต์ที่ให้บริการ
Web Directory ที่ใหญ่ที่สุดและเป็นที่นิยม
คือ https:/dmoz-odp.org
ประเภทที่
3
Meta Search Engine
Meta search
Engine คือ โปรแกรมค้นหาที่ใช้หลักการสืบค้นข้อมูลด้วย Meta
Tag ซึ่งเป็นกลุ่มคำสั่งในภาษา HTML ประเภท HyperText
Markup Language ซึ่งเป็นโปรแกรมภาษาสำหรับใช้ในกาสร้างเว็บไซต์
กลุ่มคำสั่ง Meta Tag นี้จะมีการกำหนดรายละเอียดต่าง ๆ
ของเว็บไซต์ เช่น ชื่อเว็บไซต์ตัวชื่อผู้แต่ง คำสำคัญของเว็บไซต์
รายละเอียดอย่างย่อของเว็บไซต์ โดยผลลัพธ์การสืบค้นข้อมูลด้วยโปรแกรมค้นหาประเภทนี้จะมีความแม่นยำน้อยกว่าโปรแกรมค้นหาประเภทอื่น
เนื่องจากผู้พัฒนาเว็บไซต์อาจกำหนดข้อมูลใน Mea Tag ไม่ครบถ้วน
ไม่ถูกต้อง หรือไม่ตรงกับเนื้อหาในเว็บไซต์นั่นเอง เว็บไซต์ที่ให้บริการ Meta
Search Engine เซ่น http://askjeeves.com,
http://www.debriefing.com,
1.2 ขั้นตอนการสืบค้นเพื่อหาแหล่งข้อมูลด้วยอินเทอร์เน็ต
การสืบค้นข้อมูลจากระบบอินเทอร์เน็ต
เพื่อให้ได้ข้อมูลที่มีคุณภาพ มีความน่าเชื่อถือ และตรงตามความต้องการของผู้สืบค้น
ซึ่งข้อมูลบนอินเทอร์เน็ตเป็นแหล่งข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ขนาดมหาศาลและมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา
ดังนั้น ในการสืบค้นข้อมูลบนอินเทอร์เน็ตเพื่อให้ได้ข้อมูลที่มีคุณภาพ
จะมีรายละเอียด ดังนี้
1. การสืบค้นข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต มี 4 ขั้นตอน ดังนี้
1) กำหนดวัตถุประสงค์และหัวข้อการสืบค้นให้ชัดเจน ผู้สืบค้นที่จะนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ควรตั้งวัตถุประสงค์และกำหนดหัวข้อการสืบค้นที่ชัดเจน
เพื่อให้สามารถกำหนดขอบเขตของแหล่งข้อมูลที่จะสืบค้นให้เหมาะสม ไม่กว้างจนเกินไป
เช่น หากต้องการสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับการสอนโปรแกรมภาษไพทอน (Python Programming)
ควรกำหนดวัตถุประสงค์ของการสืบค้นเพื่อให้ได้ผลลัพธ์เป็นข้อมูลที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับการสอนโปรแกรมภาษาไพทอนเป็นลำดับแรกโดยให้ความสำคัญกับข้อมูลลักษณะการขาย
การอบรมโปรแกรมภาษาไพทอน หรือการขายเครื่องมือสำหรับการสร้างชุดคำสั่งภาษาไพทอนเป็นลำดับรอง
และกำหนดประเภทของเครื่องมือหรือโปรแกรมสำหรับการสืบค้นทางอินเทอร์เน็ตที่เรียกว่า
โปรแกรมค้นหา ซึ่งมีเว็บไซต์เพื่อการสืบค้นที่นิยมในปัจจุบัน เช่น www.google.com,
www.yahoo.com, www.bing.com ทั้งนี้
เพื่อให้ผลการสืบค้นข้อมูลตรงตามความต้อการและมีความเชื่อถือมากที่สุด จึงต้องมีการค้นคว้าจากหลายแหล่งข้อมูลเพื่อให้ได้ข้อมูลที่มีประสิทธิภาพ
2) กำหนดประเทของข้อมูลที่จะสืบค้น
ข้อมูลสารสนเทศที่อยู่บนอินเทอร์เน็ตมีหลากหลายประเภท เช่น ข้อความ (Text) ภาพ (Image) เสียง (Sound) ภาพเคลื่อนไหว
(Animation) วีดีทัศน์ (Video) ซึ่งเทคโนโลยีการสืบค้นข้อมูลในปัจจุบันสามารถสืบค้นข้อมูลดังกล่าวได้อย่างรวดเร็ว
ดังนั้น ผู้สืบค้นควรกำหนดประเภทข้อมูลที่ต้องการสืบค้นให้ชัดเจนเพื่อลดเวลาการสืบค้น
และเพื่อให้ได้ข้อมูลที่ตรงตาความต้องการ ไม่หลากหลายจนเกินไป เช่น หากต้องการสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับการสอนโปรแกรมภาษาไพทอน
อาจกำหนดประเภทข้อมูลผลลัพธ์ที่ได้จากการสืบค้น โดยเลือกเฉพาะข้อความ ภาพ หรือวีดีทัศน์
อีกทั้งการกำหนดประเภทของข้อมูลที่จะสืบค้นนั้น ผู้สืบค้นจำเป็นต้องคำนึงถึงการไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ข้อมูล
หรือการไม่ละเมิดสิทธิของเจ้าของแหล่งข้อมูลอีกด้วย
3) กำหนดคำสำคัญสำหรับสืบค้นข้อมูล (Keyword) เนื่องจากโปรแกรมค้นหามีลักษณะการทำงาน
คือ การแสดงผลการสืบค้นจากคำสำคัญที่กำหนด เช่น หากต้องการสืบค้นข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการสอนโปรแกรมภาษาไพทอน
(Python Programming) สามารถกำหนดคำสำคัญได้ ดังนี้
สอนภาษาไพทอน โครงสร้างภาษาไพทอน หรือ Python Programming Tutorial
4) ประเมินความน่าเชื่อถือของข้อมูลที่ได้จากการสืบค้น คือ กระบวนการคัดแยกโดยเลือกเฉพาะข้อมูลที่มีความน่าเชื่อถือ
เนื่องจากข้อมูลที่ได้จากการสืบค้นมีหลากหลายประเภทและมาจากหลากหลายแหล่ง ดังนั้น
ผู้สืบค้นจำเป็นต้องประเมินความน่าเชื่อถือของข้อมูล
เพื่อให้ได้เฉพาะข้อมูลที่ความน่าเชื่อถือ ถูกต้อง
และมีคุณสำหรับการนำไปใช้ประโยชน์
2. เทคนิคการสืบค้นด้วย Googl.com เบื้องต้น
โดยทั่วไปผู้สืบค้นจะทำการค้นหาข้อมูลจากการกำหนดคำสำคัญเป็นหลัก แต่ Google
สามารถสืบค้นด้วยวิธีการต่าง ๆ เพิ่มเติม
เพื่อไห้ได้ผลลัพธ์ที่ถูกต้องแม่นยำมากขึ้น ดังนี้
1 การเชื่อมคำด้วยการใช้เครื่องหมายบวก (+) จะทำให้ Google ให้ความสำคัญกับคำสำคัญที่ใช้ในการค้นหาข้อมูลมากขึ้น เช่น หกต้องการสืบค้นเว็บไซต์ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับการสอนโปรแกรมภาษไพทอน
ผู้สืบค้นสามารถกำหนดคำสำคัญได้ ดังนี้ สอน+ภาษา+ไพทอน ซึ่ง Google จะทำการสืบค้นเว็บไซต์ที่มีคำว่า สอน ภาษา และไพทอนที่อยู่ในเนื้อหาของเว็บไซต์และนำมาแสดงเป็นผลลัพธ์
2) การตัดคำที่ไม่ต้องการด้วยการใช้เครื่องหมายลบ () หากผู้สืบค้นไม่ต้องการให้
Google สืบค้นเว็บไซต์ที่มีคำสำคัญที่ผู้สืบค้นไม่ต้องการอยู่ในข้อมูล
ผู้สืบค้นสามารถใช้เครื่องหมายลบในคำสำคัญที่ต้องการสืบค้น เช่น ถ้าผู้สืบค้นต้องการค้นหาเว็บไซต์ที่มีข้อมูลเกี่ยวกับการสอนโปรแกรมภาษาไพทอน
แต่ไม่ต้องการข้อมูลเกี่ยวกับการขายหลักสูตรอบรม ผู้สืบค้นสามารถกำหนดคำสำคัญ
ดังนี้ สอนภาษาไพทอน-หลักสูตรอบรม
3) การค้นหากลุ่มคำสำคัญด้วยการใช้เครื่องหมายอัญประกาศ ("...")
เหมาะสำหรับการสืบค้นด้วยคำสำคัญที่มีลักษณะเป็นประโยด วลี
หรือกลุ่มคำที่ผู้สืบคันต้องการให้แสดงผลทุกคำในประโยค
โดยไม่แยกคำและเรียงลำดับคำตามลำดับในคำสำคัญ เช่น ถ้าผู้สืบค้นต้องการหาเว็บไซต์ที่มีข้อมูลเกี่ยวกับการสอนโปรแกรมภาษาไพทอน
ผู้สืบค้นสามารถกำหนดคำสำคัญสำหรับสืบค้น ดังนี้ "สอน ภาษา ไพทอน"
4) การค้นหาข้อมูลเพิ่มมากขึ้นด้วยการใช้คำว่า OR เป็นการสั่งให้ Google ค้นหาข้อมูลเพิ่มมากขึ้น เช่น ถ้าผู้สืบค้นต้องการค้นหาเว็บไซต์ที่เกี่ยวกับภาษาไพทอน ทั้งที่เป็นภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ให้ผู้สืบค้นพิมพ์คำสำคัญว่า ไพทอน ภาษาไทย OR ภาษาอังกฤษ Google จะทำการค้นหาเว็บไซต์ที่เกี่ยวกับภาษาไพทอน ทั้งที่เป็นภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
2.
การประเมินความน่าเชื่อถือ
ข้อมูลที่ได้จากการสืบค้นนั้น
โดยทั่วไปมักมีจำนวนความถูกต้องและความน่าเชื่อถือ ดังนั้น การนำข้อมูลสารสนเทศดังกล่าวไปใช้ประโยชน์จำเป็นต้องมีการประเมินความน่าเชื่อถือของข้อมูล
เพื่อคัดแยกหรือเลือกเฉพาะข้อมูลที่มีความน่าเชื่อถือ มีความถูกต้อง
และตรงตามความต้องการ เพื่อให้สามารถนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป
2.1 หลักการประเมินความน่าเชื่อถือของข้อมูล
เป็นขั้นตอนในการประเมินเพื่อคัดเลือกข้อมูลที่ได้จากการสืบค้นที่มีคุณค่า
มีความ่าเชื่อถือในทางวิชาการ เป็นการพิจารณาคัดเลือกจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ
ซึ่งจากการประเมินความน่าเชื่อถือของข้อมูลจะทำให้เราได้ข้อมูลที่มีคุณค่าและนำไปประยุกต์ใช้อย่างเหมาะสม
ซึ่งหลักการประเมินความน่าเชื่อถือของข้อมูล มีดังนี้
1.
ประเมินความตรงตามความต้องการของข้อมูล หลักการนี้เป็นหลักการพื้นฐานที่ควรกระทำก่อนการคัดแยก
เพื่อเลือกเฉพาะข้อมูลที่ตรงตามความต้องการเท่านั้น
โดยจะพิจารณาว่าข้อมูลที่ได้จกการสืบค้นนั้นตรงตามความต้องการของผู้สืบค้นหรือไม่
หากไม่ตรงทั้งหมดสามารถเลือกเฉพาะส่วนที่ตรงกับความต้องการได้หรือไม่
หรือเนื้อหาโดยรวมค่อนข้างตรงแต่สามารถตัดส่วนที่ไม่ตรงกับความต้องการได้หรือไม่
ซึ่งวิธีการที่นิยมใช้ คือ การอ่านเบื้องต้นได้แก่ การอ่านชื่อเว็บไซต์ ชื่อเว็บเพจ
ชื่อหัวเรื่อง คำนำ หน้าสารบัญ หรือเนื้อหาในเว็บไซต์เพื่อพิจารณาว่า
มีความสอดคล้องและตรงตามความต้องการของผู้สืบค้นหรือไม่
ซึ่งส่วนใหญ่สามารถประเมินได้ตั้งแต่ชื่อเว็บไซต์ ชื่อเว็บเพจ
หรือชื่อหัวเรื่องในเว็บเพจ
2.
ประเมินความเชื่อถือและความทันสมัยของข้อมูล
หลักการนี้จะพิจารณาว่าเป็นข้อมูลที่มีความน่าเชื่อถือหรือไม่ ซึ่งการประมินความน่าเชื่อถือมีรายละเอียดที่ควรพิจารณา
ดังนี้
1) ประเมินความเชื่อถือของแหล่งข้อมูล
โดยพิจารณาว่าข้อมูลนั้นได้มาจากแหล่งใด ซึ่งโดยส่วนมากแหล่งข้อมูลที่มีความน่าเชื่อถือนั้นจะเป็นสถาบันหรือองค์กรที่มีความน่าเชื่อถือ
เช่น ห้องสมุดโรงเรียน
เนื่องจากข้อมูลที่อยู่ในห้องสมุดได้ผ่านกระบวนการกลั่นกรองเนื้อหาจากบรรณารักษ์และผู้ที่เกี่ยวข้องแล้วเอกสารด้านสุขภาพจากโรงพยาบาลที่มีความน่าเชื่อถือ
เนื่องจากโรงพยาบาลเป็นองค์กรที่มีความเชี่ยวชาญด้านสุขภาพ
แหล่งข้อมูลในอินเทอร์เน็ตจำเป็นต้องพิจารณาว่าเป็นเว็บไซต์ขององค์กรที่มีความน่าเชื่อถือหรือไม่
โดยดูจากผลงานที่ผ่านมา หรือเป็นหน่วยงาน องค์กร สถาบันของรัฐ
2) ประเมินความน่าเชื่อถือของทรัพยากรข้อมูล โดยพิจารณาว่า
ทรัพยากรข้อมูลหรือข้อมูลนั้น ๆ เป็นรูปแบบใด เช่น สื่อสิ่งพิมพ์ สื่อไม่ตีพิมพ์
หรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์ และหากเป็นสื่อสิ่งพิมพ์ เป็นสิ่งพิมพ์ประเภทใด เช่น
หนังสือทั่วไป หนังสืออ้างอิง วารสาร นิตยสาร
3) ประเมินความน่าเชื่อถือของผู้เขียน ผู้จัดทำ สำนักพิมพ์
โดยพิจารณาว่าผู้เขียนมีคุณวุฒิ
ความรู้ความสามารถและประสบการณ์ตรงหรือสอดคล้องกับเรื่องที่เขียนหรือไม่ (โดยผู้เขียน หมายรวมถึงผู้สร้างเนื้อหาในเว็บไซต์หรือสื่ออื่น ๆ
ในอินเทอร์เน็ต เช่น สื่อสังคมออนไลน์) รวมทั้งความนำเชื่อถือของผู้จัดทำ
สำนักพิมพ์ หรือองค์กรที่จัดทำเว็บไซต์ที่มีประสบการณ์ในเนื้อหาเฉพาะด้าน
หน่วยงานผู้รับผิดชอบของทางภาครัฐ องค์กร
สมาคมมักจะมีความน่าเชื่อถือมากกว่าหน่วยงานภาคเอกชนหรือบุคคลตัวอย่าง เช่น
กรณีที่เป็นเว็บไซต์หรือสื่อสังคมออนไลน์ ให้พิจารณาว่าผู้เขียน ผู้จัดทำเว็บไซต์
องค์กรเจ้าของเว็บไซต์มีความน่าเชื่อถือ
มีชื่อเสียงในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาในเว็บไซต์
หรือเป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายหรือไม่
4) ประเมินความทันสมัยของข้อมูล โดยหากเป็นสื่ออิเล็กทรอนิกส์หรือสื่อที่อยู่บนอินเทอร์เน็ต
เช่น เว็บไซต์ สื่อสังคมออนไลน์ ควรพิจารณาวันเดือนปี ที่ข้อมูลถูกเผยแพร่ในเว็บไซต์หรือสื่อสังคมออนไลน์ดังกล่าว
หากเป็นสื่อสิ่งพิมพ์ควรพิจารณาความทันสมัยจากวันเดือนปีที่พิมพ์
3.
ประเมินระดับเนื้อหาของข้อมูล
มี 3 ระดับ ดังนี้
ข้อมูลปฐมภูมิ
(Primary
Information) มีความน่าเชื่อถือมากที่สุด เนื่องจากเป็นข้อมูลที่ได้จากการศึกษาค้นคว้าโดยตรงของผู้เขียนและมีการเผยแพร่เป็นครั้งแรก
เช่น เว็บไซต์จากผู้เขียนเนื้อหารายงานการวิจัย วิทยานิพนธ์
สิ่งพิมพ์หรือเว็บไซต์ของรัฐบาล
ข้อมูลประเภทนี้ถือว่ามีความน่าเชื่อถือสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้มากที่สุด
เพราะเป็นข้อมูลจริงที่ได้จากผู้เขียน และยังไม่ได้ผ่านการ
เรียบเรียงหรือปรับแต่งใหม่จากบุคคลอื่น
ข้อมูลทุติยภูมิ
(Secondary
Information) เป็นการนำข้อมูลปฐมภูมิมาเขียน อธิบาย
เรียบเรียงหรือวิจารณ์ใหม่ให้เข้าใจง่าย เพื่อให้เหมาะกับผู้ใช้งานหรือผู้สืบค้น
อีกทั้งยังสามารถเป็นเครื่องมือช่วยติดตามข้อมูลปฐมภูมิอีกด้วย เช่น เว็บไซต์ที่นำเนื้อหาจากเว็บไซต์ต้นฉบับมาเรียบเรียงใหม่โดยมีการระบุแหล่งที่มาของเนื้อหาไว้ชัดเจน
หนังสือบทความวารสาร บทคัดย่องานวิจัย บทวิจารณ์
ข้อมูลตติยภูมิ
(Tertiary
Information) เป็นข้อมูลที่การแนะนำแหล่งข้อมูลระดับปฐมภูมิและทุติยภูมิ
ซึ่งข้อมูลตติยภูมิจะไม่ได้ให้เนื้อหาข้อมูลโดยตรง
แต่เป็นการชี้แนะแหล่งข้อมูลปฐมภูมิและทุติยภูมิ เช่น แหล่งที่มาในเว็บไซต์
บรรณานุกรมเอกสารอ้างอิง ดรรชนีวารสาร วารสารสาระสังเขป
2.2 การตรวจสอบความน่าเชื่อถือของแหล่งข้อมูล
การตรวจสอบความน่าเชื่อถือของแหล่งข้อมูลที่ได้จากการสืบค้นจากอินเทอร์เน็ตนั้นผู้สืบค้นสามารถประเมินความน่าเชื่อถือของแหล่งข้อมูลได้
ดังนี้
·
เนื้อหาที่เผยแพร่ต้องตรงตามวัตถุประสงค์ที่ระบุไว้ในเว็บไซต์
·
เนื้อหาในเว็บไซต์ต้องไม่ขัดต่อกฎหมาย
ศีลธรรมและจริยธรรม
·
สามารถเชื่อมโยง (Link)
ไปยังเว็บไซต์อื่นที่อ้างถึงได้
·
มีการระบุชื่อผู้เขียนบทความหรือผู้ให้ข้อมูลบนเว็บไซต์
·
ระบุวัตถุประสงค์ในการสร้างหรือเผยแพร่ข้อมูลไว้ในเว็บไซต์
·
มีการอ้างอิงหรือระบุแหล่งที่มาของข้อมูลในเนื้อหาที่ปรากฏบนเว็บไซต์
·
มีการระบุวัน เวลา
ในการเผยแพร่ข้อมูลบนเว็บไซต์ และการปรับปรุงข้อมูลครั้งล่าสุด
·
มีการเผยแพร่ช่องทางที่สามารถติดต่อผู้ดูแลเว็บไซต์ได้
เช่น ที่อยู่จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (E-mail address) สื่อสังคมออนไลน์ของเว็บไซต์
แหล่งข้อมูลที่มีความน่าเชื่อถือ
เมื่อเราต้องการข้อมูลเพื่อนำมาใช้ประโยชน์ในงานด้านต่าง ๆ เราสามารถนหาข้อมูลได้จากแหล่ข้อมูลต่าง
ๆ ที่มีอยู่รอบตัว และควรเลือกค้นหาจากแหล่งข้อมูลที่เชื่อน่าถือได้
ซึ่งมีลักษณะเป็นแหล่งที่มีการรวบรวมข้อมูลอย่างมีหลักเกณฑ์
มีเหตุผลและมีการอ้างอิง จึงจะได้ข้อมูลที่ถูกต้องตรงตามความเป็นจริง
ตัวอย่างแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้ มีดังนี้
1. เจ้าของข้อมูล เป็นผู้ที่มีประสบการณ์ตรงเกี่ยวกับข้อมูลนั้น ๆ
สามารถให้ข้อมูลได้ถูกต้องตรงความเป็นจริงมากกว่าบุคคลอื่นที่รับฟังข้อมูลมาเผยแพร่ต่อ
ซึ่งอาจมีความคลาดเคลื่อน หรืออาจแต่งเติม ทำให้ข้อมูลไม่ตรงกับข้อมูลต้นฉบับที่ได้รับ
2. องค์กรหรือผู้มีความรู้ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน
เป็นองค์กรบุคคลที่ทำงานหรือศึกษาค้นคว้าในด้านใดด้านหนึ่ง
ทำให้มีความรู้จากประสบการณ์ในการทำงานหรือการศึกษาค้นคว้าอย่างจริงจัง
จึงมีข้อมูลที่ถูกต้องตรงตามความเป็นจริง ตัวอย่างเช่น
หน่วยงานหรือผู้มีความรู้ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน เช่น ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ
เป็นองค์กรของรัฐที่ให้ความรู้และพัฒนาเทคโนโลยีด้านคอมพิวเตอร์ของประเทศ
3. หน่วยงานของรัฐ
เป็นหน่วยงานที่มีข้อมูลซึ่งมีผลต่อความเป็นอยู่ของประชาชนและการพัฒนาประเทศ
เนื่องจากข้อมูลจากหน่วยงานของรัฐจะถูกนำไปใช้ในการกำหนดนโยบาย วางแผน
ลงมือปฏิบัติงาน และใช้อ้างอิง จึงเป็นข้อมูลสำคัญที่ต้องมีการรวบรวมเก็บรักษา
หรือสร้างข้อมูลขึ้นอย่างรอบคอบและระมัดระวัง เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้องตรงตาม
ความเป็นจริงเสมอ
แหล่งข้อมูลที่ได้จากการสืบค้นเนื้อหา
คือ เว็บไซต์ของศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกะทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
โดยจะเห็นว่าแหล่งข้อมูลที่ได้จากการสืบค้นตรงตามวัตถุประสงค์ มีชื่อผู้แต่ง
การระบุแหล่งอ้างอิง ระบุวันเวลาในการเผยแพร่จึงถือได้ว่าเป็นแหล่งข้อมูลที่มีความน่าเชื่อถือ
2.3 การประเมินความน่าเชื่อถือของข้อมูลโดยใช้ PROMPT
วิธีการประเมินความน่าเชื่อถือของข้อมูลโดยใช้
PROMPT
หรือเรียกอีกอย่างว่า วิธีการประเมินโดยการตั้งคำถาม มี 6 ขั้นตอน ดังนี้
การนำเสนอ
(Presentation)
โดยจะต้องมีการตั้งคำถามก่อนที่จะนำข้อมูลเหล่านั้นมาประเมินผล เช่น
ข้อมูลที่ได้มีความชัดเจนหรือไม่ ภาษาที่ใช้มีความถูกต้องหรือไม่
ความสัมพันธ์กัน
(Relevance)
คือ ข้อมูลที่มีเนื้อหาตรงกับความต้องการของผู้สืบค้น เช่น
ข้อมูลที่หามาได้นั้นอาจจะมีรายละเอียดมากเกินไป หรือน้อยเกินไปไม่ตรงตามความต้องการ
ไม่มีจุดเน้นหรือคำสำคัญที่ต้องการ
วัตถุประสงค์
(Objectivity)
คือ การตระหนักถึงความคิดเห็นและวาระที่ต้องการเป็นสิ่งสำคัญ
โดยอาจจะมีคำถามเกี่ยวกับข้อมูลที่ต้องการ
วิธีการ
(Method)
คือ วิธีที่ใช้ในการประเมินข้อมูลหรือเนื้อหาต่าง ๆ เช่น มีการรวบรวมข้อมูลอย่างไร
มีวิธีการประเมินที่เหมาะสมเข้มงวดหรือไม่
พิสูจน์หรือยืนยัน
(Provenance)
คือ ต้องมีการพิสูจน์ ยืนยัน หรือมีการอ้างอิงข้อมูลหรือเนื้อหาที่ทำจอกหนังสือ
เว็บไซต์ หรือแหล่งอ้างอิงอื่น ๆ เพื่อให้เกิด ความน่าเชื่อถือ
ทันเหตุการณ์และเป็นปัจจุบัน
(Timeliness)
คือ ข้อมูลหรือเนื้อหานั้น ๆ ต้องมีความเป็นปัจจุบัน ทันเหตุการณ์อยู่เสมอ
เพื่อให้เป็นข้อมูลหรือเนื้อหา ที่มีความทันสมัยมากเพียงพอ
2.4 เหตุผลวิบัติ
เหตุผลวิบัติ
(Logical
Fallacy) คือ การใช้เหตุผลที่ผิดพลาด ขาดความน่าเชื่อถือในการนำเสนอ
อภิปราย หรือสรุปข้อมูลใด ๆ เพื่อพยายามให้ผู้อื่นเชื่อถือ ยอมรับ
และสนับสนุนข้อมูลดังกล่าว ส่งผลให้ผู้รับข้อมูลเกิดความข้าใจผิด
และหากนำข้อมูลดังกล่าวไปใช้หรือเผยแพร่ต่ออาจทำให้ผู้รับข้อมูลรวมถึงสังคมเกิดความเข้าใจผิด
โดยเหตุผลวิบัติมีชื่อเรียกอื่น ๆ เช่น ความผิดพลาดเชิงตรรกะ เหตุผลลวง ตรรกะวิบัติ
ซึ่งเหตุผลวิบัติได้รับการจำแนกไว้หลายประเภท และสามารถไปประยุกต์ใช้ในการประเมินความน่าเชื่อถือของข้อมูลได้
ดังตัวอย่างต่อไปนี้
1.
การสรุปด้วยความไม่รู้ (Appeal to Ignorance) คือ
การแสดงความคิดเห็นต่าง ๆ ร่วมกัน และบางเรื่องไม่มีใครทราบข้อมูลนั้น
จนทำให้อ้างความไม่รู้เพื่อหาข้อเท็จจริงนั้น เช่น
สถานการณ์
: มีผู้ชายคนหนึ่งต้องการแวะซื้อของที่ตลาดกลางชุมชน
แต่วันนั้นที่จอดรถเต็ม ชายคนดังกล่าวจึงนำรถของตนไปจอดไว้หน้าบ้านของผู้หญิงคนหนึ่ง
เนื่องจากเห็นว่าเป็นพื้นที่ว่าง และคิดว่าตนเองคงจะไปซื้อของไม่นาน
เมื่อผู้ชายเจ้าของรถเดินกลับมาที่รถของตนจึงพบว่า
ผู้หญิงเจ้าของบ้านแจ้งให้ตำรวจมา ยกรถของตนออกไปเนื่องจากผู้หญิงเจ้าของบ้านจะขับรถออกไปข้างนอก
ปัญหาที่เกิด
:
ผู้ชายเจ้าของรถนำรถมาจอดขวางทางเข้า-ออกบ้านผู้อื่น
ด้วยเพราะไม่ทราบว่า การจอดรถขวางทางเข้า-ออกบ้านของผู้อื่นนั้นเป็นสิ่งที่ไม่ควรกระทำ
เนื่องจากจะทำให้ผู้อื่นนั้นได้รับความเดือดร้อนจากการกระทำของตน
2.
การสรุปเหมารวม (Converse Accident) คือ
การสรุปเหตุผลโดยเหมารวมข้อสรุป หรือข้อตกลง ต่างๆ เช่น
สถานการณ์
: นิดกับน้ำเป็นเพื่อนร่วมห้องกันซึ่งนิดเป็นคนจีนที่มีผิวขาว ดวงตาเล็กสีดำ
ผมสีน้ำตาล ส่วนน้ำเป็นคนไทยที่มีลักษณะเป็นผิวสองสีดวงตาโตสีน้ำตาล ผมสีดำ
ซึ่งบุคคลทั้งสองมีลักษณะแตกต่างกันอย่างชัดเจน จึงสรุปได้ว่า
คนไทยจะต้องมีผิวสองสี ดวงตาโตสีน้ำตาล และผมสีดำ
ปัญหาที่เกิด
:
คนไทยทุกคนไม่ได้มีรูปร่างหน้าตาที่เหมือนกัน
เนื่องจากพันธุกรรมที่มีความแตกต่างกันมาตั้งแต่กำเนิด บางคนมีดวงตาสีน้ำตาล สีดำ
หรือสีฟ้าบางคนมีผมสีน้ำตาลหรือสีดำ และบางคนมีรูปร่างสูงหรือเตี้ยลักษณะที่แตกต่างกันเหล่านี้จะขึ้นอยู่กับพันธุกรรมที่ได้มาจากพ่อแม่
จึงทำให้คนไทยมีรูปร่างลักษณะที่แตกต่างกันออกไป
การนำแนวคิดเหตุผลวิบัติมาประเมินความน่าเชื่อถือของข้อมูลสามารถวิเคราะห์ได้
ดังนี้
การละทิ้งข้อยกเว้น
ผู้ให้ข้อมูล
: เยาวชนสามารถหยุดเรียน เพื่อสร้างรายได้อย่างจริงจัง
ปัญหา
: ข้อยกเว้นของการหยุดเรียนเพื่อสร้างรายได้จากสื่อสังคมออนไลน์
เป็นสิ่งที่ไม่ควรกระทำหากไม่มีความพร้อมเพียงพอ เช่น
ฐานะของครอบครัวความพร้อมเรื่องอุปกรณ์
ความรู้ความเข้าใจเรื่องการสร้างรายได้จากสื่อสังคมออนไลน์อย่างลึกซึ้ง
ผลกระทบ
:
เยาวชนหรือผู้ที่รับข้อมูลอาจเข้าใจผิดว่า
การหยุดเรียนเพื่อมาสร้างรายได้จากสื่อสังคมออนไลน์สามารถกระทำได้ โดยไม่มีข้อยกเว้นใด
ๆ
การสรุปข้อมูลด้วยความไม่รู้
ผู้ให้ข้อมูล
:
เยาวชนที่สนใจด้านการผลิตข้อมูลในสื่อสังคมออนไลน์เพื่อสร้างรายได้ควรดำเนินการอย่างจริงจัง
ซึ่งสามารถหยุดหรือพักการเรียน เพื่อให้มีเวลาในการสร้างรายได้จากการสร้างเนื้อหาบนสื่อสังคมออนไลน์อย่างเต็มที่
ปัญหา
:
: ไม่มีข้อพิสูจน์ที่แน่ชัดว่า
การหยุดเรียนเพื่อมาสร้างข้อมูลในสื่อสังคมออนไลน์ จะทำให้สามารถสร้างรายได้จริง
ผลกระทบ
:
เยาวชนหรือผู้ที่ได้รับข้อมูลอาจเข้าใจผิดว่า
การหยุดเรียนเพื่อมาสร้างรายได้จากสื่อสังคมออนไลน์สามารถกระทำได้โดยไม่จำเป็นต้องศึกษาข้อมูล
หรือหาข้อพิสูจน์ใด ๆ
3.
การรู้เท่าทันสื่อ
ปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามามีบทบาทกับชีวิตมนุษย์มากขึ้น
มีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาใช้ในหลากหลายสาขาวิชาชีพ เช่น ด้านการศึกษา
ด้านธุรกิจอุตสาหกรรม ด้านการแพทย์ ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เพื่ออำนวยความสะดวกในกระบวนการทำงาน
เมื่อการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศมากขึ้น
ปริมาณข้อมูลหรือปริมาณสารสนเทศต่าง ๆ ที่อยู่ในกระบวนการของการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศก็มีเพิ่มมากขึ้นด้วยอย่างทวีคูณ
โดยข้อมูล หรือสารสนเทศจำนวนมหาศาลนั้นก็มีทั้งที่เป็นของส่วนบุคคล องค์กร
หรือหน่วยงานต่าง ๆ และข้อมูลหรือสารสเทศนี้ก็เริ่มเข้ามามีบทบาทต่อสังคมมนุษย์มากขึ้นหรือเรียกได้ว่าเป็นยุคของสังคมสารสนเทศ
(Information
Age Society) เป็นยุคที่ต้องตั้งรับและตระหนักถึงความรวดเร็วของสารสนเทศ
(information Exposure) เพราะข้อมูลที่รับเข้ามามีทั้งที่เป็นประโยชน์และไม่เป็นประโยชน์
ดังนั้น จึงต้องมีความสามารถในการับรู้ข้อมูลข่าวสาร เลือกสรร คัดกรอง
และเข้าถึงข้อมูลที่เป็นจริง
ตลอดจนสามารถนำข้อมูลนั้นมาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อตนเอง สังคม องค์กรหรือหน่วยงาน
และประเทศชาติได้ เพื่อให้ประเทศสามารถพัฒนาไปในทางที่มีประสิทธิภาพและพัฒนาคุณภาพชีวิตในด้านต่าง
ๆ ของประชาชนได้
การรู้เท่าทันสื่อสารสนเทศเป็นลักษณะของสมรรถนะที่ครอบคลุมทักษะแห่งศตวรรษที่
21
ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับความสามารถในการเข้าถึงสารสนเทศผ่านสื่อและเทคโนโลยีดิจิทัล
การเลือกรับ วิเคราะห์ ประเมิน และนำข้อมูลที่ได้รับไปใช้ในทางสร้างสรรค์
รวมทั้งความสามารถผลิตสื่อเพื่อขับเคลื่อนสังคมได้ด้วยตนเองอย่างมีประสิทธิภาพ
ในปัจจุบันเทคโนโลยีสาสนเทศทำให้การกระจายข้อมูลข่าวสารเป็นไปอย่างรวดเร็ว
จึงมีผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจ การเมือง
และสังคมที่แตกต่างจากในอดีตซึ่งจะเห็นได้จากวิกฤตการณ์ทางด้านเศรษฐกิจจากประเทศหนึ่งมีผลกระทบต่อประเทศอื่น
ๆ อย่างรวดเร็วและกว้างขวาง ผลของความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศทำให้แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญหลายด้าน
เช่น ระบบเศรษฐกิจต่าง ๆ มีความเชื่อมโยงกันทั่วโลก
ทำให้ง่ายต่อการติดต่อสื่อสารได้สะดวก
3.1 องค์ประกอบของการรู้เท่าทันสื่อ
การู้เท่าทันสื่อเป็นสิ่งจำเป็นที่ควรปฏิบัติในการดำเนินงานต่าง
ๆ เพื่อให้ได้รับผลสำเร็จซึ่งองค์ประกอบของการรู้เท่าทันสื่อ มีดังนี้
1.
ความสามารถในการเข้าถึงสื่อ (Access) คือ
การได้รับสื่อประเภทต่าง ๆ ได้อย่างเต็มที่และรวดเร็ว สามารถรับรู้และเข้าใจเนื้อหาของสื่อประเภทนั้นตามที่ต้องการ
·
สามารถกำหนดและสื่อสารชัดเจนเกี่ยวกับความต้องการของสารสนเทศ
เป็นการระบุและสื่อสารให้ชัดเจนเกี่ยวกับบทบาทและขอบเขตของสารสนเทศ
รวมถึงเนื้อหาในสื่อผ่านแหล่งต่าง ๆ ที่แพร่หลาย
·
สามารถค้นหาและระบุตำแหน่งของสารสนเทศและเนื้อหาในสื่อ
·
สามารถเข้าถึงสารสนทศและเนื้อหาในสื่อที่ต้องการได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีจริยธรรม
·
สามารถเรียกหรือจัดเก็บสารสนเทศและเนื้อหาในสื่อได้โดยใช้วิธีการต่าง
ๆ และ เครื่องมือที่หลากหลาย
2. ความเข้าใจการประเมินค่าสารสนทศและเนื้อหาในสื่อ (Evaluation) เป็นผลจากการวิเคราะห์สื่อที่ผ่านมาทำให้สามารถที่จะประเมินคุณภาพของเนื้อหาที่มี
ซึ่งจะประเมินค่าออกมาได้ว่า มีคุณค่าต่อผู้รับสารมากน้อยเพียงใด
และสามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อผู้รับสารในด้านใดได้บ้าง
·
สังเคราะห์และจัดระบบสารสนเทศและเนื้อหาในสื่อได้
·
เข้าใจความจำเป็นของผู้ให้บริการสารสนเทศและเนื้อหาในสื่อที่มีต่อสังคม
·
ประเมินผลและพิสูจน์ความถูกต้องของสารสนเทศและเนื้อหาในสื่อ
รวมถึงผู้ให้บริการสารสนเทศและเนื้อหาในสื่อได้
·
ประเมินค่า วิเคราะห์
เปรียบเทียบ และสื่อสารออกมา แล้วประยุกต์ใช้เกณฑ์ในการประเมินสารสนเทศและเนื้อหาในสื่อ
รวมถึงผู้ให้บริการสารสนเทศ
3. การสร้าง การใช้ประโยชน์ และการเฝ้าระวังสารสนเทศและเนื้อหาในสื่อ (Creation)
เป็นการสร้างสื่อในแบบฉบับของตนเองขึ้นมา
เมื่อผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจสามารถวิเคราะห์ วิจารณ์ ประเมินค่าสื่อได้
และสามารถวางแผนวิเคราะห์ ออกแบบ เขียนบทและค้นคว้าเนื้อหามาประกอบได้
·
สร้างและผลิตความรู้
สารสนเทศ และเนื้อหาในสื่อ
เพื่อวัตถุประสงค์อย่างใดอย่างหนึ่งด้วยความสร้างสรรค์และมีจริยธรรม
·
สื่อสารข้อมูลเนื้อหาในสื่อ
และข้อมูลความรู้ต่าง ๆ อย่างมีประสิทธิภาพบนพื้นฐานกฎหมายและจริยธรรม
โดยใช้ช่องทางและเครื่องมือที่เหมาะสม
·
เฝ้าระวังผลกระทบของสารสนเทศ
เนื้อหาในสื่อ และข้อมูลความรู้ต่าง ๆ ที่ถูกสร้างและเผยแพร่ขึ้น รวมถึงผู้ใช้บริการสารสนเทศและเนื้อหาในสื่อด้วย
·
มีส่วนร่วมกับสื่อโดยการแสดงออกทางความคิดเห็นและการสนทนาระหว่างกันผ่านช่องทางที่หลากหลายบนพื้นฐานจริยธรรมอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
4.
การสะท้อนคิด (Reflection) เป็นการพิจารณาการกระทำของตนเองว่า
อาจมีผลกระทบหรือผลลัพธ์ต่อผู้อื่นอย่างไร ทั้งไนมิติของจริยธรรมและความรับผิดชอบ
การรู้เท่าทันสื่อยังนำไปสู่การตระหนักในสิทธิการสื่อสารของประชาชนและทำให้สามารถสื่อสารได้อย่างสร้างสรรค์
มีคุณภาพ และเกิดประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งเท่ากับเป็นการสร้างความเข้มแข็งให้กับโครงสร้างประชาธิปไตยของสังคมอีกด้วย
3.2 การรู้เท่าทันสื่อดิจิทัลและการรู้เท่าทันสื่อ
การรู้เท่าทันสื่อในภาษาอังกฤษใช้คำว่า
Media
Literacy หมายถึง ความสามารถที่จะเข้าถึงข้อมูล วิเคราะห์สาร
ประเมินสาร และสื่อความเนื้อหาสารในรูปแบบต่าง ๆ
โดยผู้ที่รู้เท่าทันสื่อจะเข้าใจลักษณะรูปแบบของสื่อและความสามารถในการอธิบายความหมายของสิ่งที่พบในสื่อได้แต่ด้วยวิวัฒนาการขยายแนวคิดให้ทันสมัยตามบริบทของสังคมและเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไปการรับรู้ข้อมูลข่าวสารผ่านสื่อดิจิทัลมีมากขึ้น
จึงมีการนิยามความรู้เท่าทันสื่อดิจิทัล (Digital Literacy) ที่หมายรวมถึง
ความสามารถในการเข้าถึงสื่อ ความสามารถในการวิเคราะห์สื่อ ความสามารถในการแต่งหรือสร้างสื่อ
และความสามารถในการสะท้อนความคิดเห็นที่มีต่อสื่อ นอกจากนี้การรู้เท่าทันสื่อยังเป็นการสร้าความเข้าใจเกี่ยวกับบทบาทของสื่อในสังคมและสร้างทักษะที่สำคัญในการแสดงออกได้อีกด้วย
1.
การรู้เท่าทันสื่อดิจิทัล สามารถแบ่งออกได้ 8 ด้าน ดังนี้
2. การรู้เท่าทันสื่อ
แบ่งออกเป็น 4 ระดับ ดังนี้
3.3 การใช้สื่อและปัญหาที่พบในสื่อปัจจุบัน
ความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและนวัตกรรมการสื่อสารในปัจจุบันมีการพัฒนาไปอย่างมาก
ทำให้สื่อสามารถเข้าถึงมนุษย์ได้อย่างกว้างขวางและรวดเร็วมากขึ้น ดังนั้น
ผลกระทบของสื่อต่อผลการได้รับข้อมูล ข่าวสาร และสารสนเทศจึงมีมากตามไปด้วย
ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี การมีอุปกณ์พกพา เช่น คอมพิวเตอร์ สมาร์ตโฟน แท็บเล็ต
ประกอบกับการเข้าใช้งานเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้จากทุกที่ทุกเวลากับความเร็วของเครือข่าย
ยิ่งทำให้สื่อมีอิทธิพลต่อบุคคลและสังคม
โดยเฉพาะในยุคปัจจุบันที่ผู้คนใช้เวลากับการท่องอยู่บนโลกออนไลน์มากขึ้น
โดยเฉพาะสื่อสังคมออนไลน์ที่มีการเติบโตของผู้ใช้งานเพิ่มขึ้น
ซึ่งเรียกว่าเป็นปรากฏการณ์สังคมก้มหน้า
ซึ่งในยุคสังคมสารนเทศการได้รับข้อมูลข่าวสารผ่านสื่อที่นำเสนออยู่ตรงหน้าโดยปราศจากการคิด
วิเคราะห์ ไตร่ตรองอย่างถี่ถ้วนในการรับข้อมูลมาอย่างรวดเร็ว
และแบ่งปันต่อหรือส่งต่ออย่างรวดเร็ว
หากข้อมูลนั้นเป็นเท็จก็อาจจะส่งผลกระทบที่สร้างความเสื่อมเสียหรือความเสียหายต่อบุคคล
องค์กร หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลนั้น โดยปัญหาเหล่านี้สะท้อนให้เห็นถึงปัญหาการไม่รู้เท่าทันสื่อของคนในสังคม
ในยุคที่สื่อและเทคโนโลยีมีความก้าวหน้า
ปัญหาของสื่อยิ่งมีความหลากหลายมากขึ้น ซึ่งจะสร้างปัญหาให้กับสังคมในวงกว้างขึ้นและรวดเร็วขึ้น
และด้วยอำนาจและอิทธิพลของสื่อในหลายช่องทางเพื่อการแสวงหาผลประโยชน์ขององค์กรต่าง
ๆ ปัญหาที่เกิดจากสื่อก่อให้เกิดปัญหาสังคมต่าง ๆ ตามมา โดยเราจะเห็นได้ว่า
ในปัจจุบันหลายปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคม
สื่อเป็นหนึ่งในสาเหตุหลักที่ก่อให้เกิดปัญหานั้น เห็นได้จากข่าวที่ปรากฏในสังคม
เช่น ข่าวความรุนแรง ซึ่งจะนำไปสู่การเลียนแบบพฤติกรรมก้าวร้าว
ปัญหาความรุนแรงในสังคมจึงเป็นแนวคิดในการควบคุมสื่อในรูปแบบของการออกกฎหมายมาใช้เป็นเครื่องมือในการควบคุม
แต่ทั้งนี้จะโทษสื่ออย่างเดียวไม่ได้ ผู้รับสื่อก็ควรที่จะได้เรียนรู้ ได้ศึกษาเรื่องสื่อหรือการรู้เท่าทันสื่อ
เพื่อเป็นเครื่องมือในการป้องกันและแก้ปัญหาอิทธิพลและผลกระทบทางลบของสื่อ
3.4 ผลกระทบของข้อมูลที่ผิดพลาด
ในปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศและข่าวสารต่าง
ๆ เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของมนุษย์มากขึ้น สิ่งที่ต้องทำเมื่อได้รับข้อมูลมาจากแหล่งต่างๆ
คือ การวิเคราะห์ว่าสิ่งที่เผยแพร่ในสื่อออนไลน์เป็นข้อมูลที่เป็นจริงหรือไม่
โดยจะขึ้นอยู่กับความรู้และประสบการณ์ของแต่ละคนซึ่งผลกระทบของข้อมูลที่ผิดพลาด
มีดังนี้
1.
การละเมิดสิทธิเสรีภาพส่วนบุคคล
การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างไม่มีขีดจำกัดย่อมส่งผลต่อการละเมิดสิทธิส่วนบุคคล
การนำเอาข้อมูลบางอย่างที่เกี่ยวกับบุคคลออกไปเผยแพร่ต่อสาธารณชน
ซึ่งข้อมูลบางอย่างอาจไม่เป็นจริงหรือยังไม่ได้พิสูจน์ความถูกต้อง
และอาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อบุคคลโดยไม่สามารถป้องกันตนเองได้
2.
เมื่อแชร์ข้อมูลต่าง ๆ ลงบนอินเทอร์เน็ต
อาจจะทำให้ผู้แชร์ข้อมูลถูกโจรกรรมข้อมูลส่วนตัวจนเกิดเป็นอาชญากรรมบนเครือข่าย
ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสารสนเทศก่อให้เกิดปัญหาใหม่ขึ้น เช่น อาชญากรรมในรูปของการขโมยความลับ
การขโมยข้อมูลสารสนเทศ การให้บริการสารสนเทศที่มีกรหลอกลวง รวมถึงการทำลายข้อมูลที่มีอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ต่าง
ๆ ในระบบเครือข่าย
3.
การได้รับข้อมูลที่ผิดพลาดนั้น
อาจจะส่งผลต่อผู้ที่เกี่ยวข้องที่ไม่ได้มีความผิดแต่ถูกกล่าวอ้างหรืทำให้ได้รับความเสียหายจนทำให้เกิดปัญหาด้านสุขภาพ
อาจส่งผลถึงสภาพจิตใจและมีโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ รุมเร้า
จนทำให้สุขภาพร่างกายทรุดโทรม
4.
การแชร์ข้อมูลที่เป็นเท็จลงในโลกออนไลน์ที่ทุกคนสามารถเห็นนั้น อาจจะทำให้ผู้ที่แชร์ข้อมูลที่เป็นเท็จถูกดำเนินคดี
โดยผิดกฎหมายตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
ผลกระทบจากการได้รับข้อมูลที่ผิดพลาด
หากไม่ตรวจสอบให้แน่ชัดว่าเนื้อหาข้อมูลดังกล่าวมีความน่าเชื่อถือหรือไม่
อาจส่งผลกระทบได้ ดังนี้
1.
การถูกโจรกรรมข้อมูลสำคัญ เช่น ข้อมูลบัญชีธนาคาร ข้อมูลรหัสผ่านต่างๆ หรือหากเป็นเนื้อหาประเภท
Phishing
ซึ่งเป็น โดยใช้ข้อมูลส่วนตัวเทคนิคการหลอกลวงโดยใช้จิตวิทยาผ่านระบบคอมพิวเตอร์
มักจะมาในรูปของอีเมล
หรือเว็บไซต์เพื่อหลอกลวงให้ผู้หลงเชื่อเผยข้อมูลอันเป็นความลับต่าง ๆ
2.
การถูกโจมตีโดยซอฟต์แวร์ที่มุ่งประสงค์ร้ายจากผู้ไม่หวังดี
อาจส่งผลถึงสภาพจิตใจของผู้ใช้งาน ทำให้เกิดภาวะเครียดจนเสียสุขภาพได้
3.
การถูกล่อลวงด้วยข้อมูลอันเป็นเท็จต่าง ๆ เช่น
เมื่อคลิกลิงก์เข้าเว็บไซต์แล้วอาจจะนำไปสู่การเปิดเว็บไซต์ที่ให้ข้อมูลอันเป็นเท็จ
ข้อมูลละเมิดลิขสิทธิ์ หรือข้อมูลที่ละเมิดศีลธรรม
สรุปความน่าเชื่อถือของข้อมูล
การสืบค้นเพื่อหาแหล่งข้อมูลสารสนเทศ
การสืบค้นแหล่งข้อมูล
คือ กระบวนการค้นหาข้อมูลที่ต้องการ โดยใช้เครื่องมือต่าง ๆ เช่น คอมพิวเตอร์
โดยการสืบค้นเพื่อหาแหล่งข้อมูลแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้
1.
กรสืบค้นข้อมูลด้วยมือ คือ การสืบค้นข้อมูลด้วยเอกสาร หนังสือ ตำรา โดยสามารถสืบค้นจากสถานที่หรือหน่วยงานที่จัดเตรียมข้อมูลต่าง
ๆ ไว้ เช่น ห้องสมุดในโรงเรียน เอกสารแผ่นพับแนะนำข้อมูลด้านสุขภาพในโรงพยาบาล
2.
การสืบค้นข้อมูลด้วยระบบคอมพิวเตอร์ คือ การสืบค้นข้อมูลผ่านเทคโนโลยีหรืออุปกรณ์คอมพิวเตอร์
เช่น การสืบค้นข้อมูลจกระบบฐานข้อมูล ข้อมูลออนไลน์ ข้อมูลบนอินเทอร์เน็ตข้อมูลจาก
Search
Engine
การประเมินความน่าเชื่อถือของข้อมูล
เป็นขั้นตอนในการประเมินเพื่อคัดเลือกข้อมูลที่ได้จากการสืบค้นข้อมูลที่มีคุณค่า
มีความน่าเชื่อถือในทางวิชาการ เป็นการพิจารณาคัดเลือกจากแหล่งข้อมูลต่างๆ
ซึ่งจากการประเมินความน่าเชื่อถือของข้อมูลจะทำให้เราได้ข้อมูลที่มีคุณค่าและนำข้อมูลไปประยุกต์ใช้อย่างเหมาะสมซึ่งหลักการประเมินความน่าเชื่อถือของข้อมูล
มีดังนี้
· ประเมินความตรงตามความต้องการของข้อมูล
· ประเมินความนเชื่อถือและความทันสมัยของข้อมูล
· ประเมินระดับเนื้อหาของข้อมูล
การรู้เท่าทันสื่อ
เป็นสิ่งจำเป็นที่ควรปฏิบัติในการดำเนินงานต่าง
ๆ เพื่อให้ได้รับผลสำเร็จลุล่วง ซึ่งองค์ประกอบของการรู้เท่าทันสื่อ มีดังนี้
ความสามารถในการเข้าถึงสื่อ
· ความเข้าใจการประเมินสารสนเทศและเนื้อหาในสื่อ
· การสร้าง
การใช้ประโยชน์ และการเฝ้าระวังสารสนเทศและเนื้อหา
· การสะท้อนคิด
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น