หน่วยที่ 4 แอปพลิเคชัน
เทคโนโลยี IoT
อินเทอร์เน็ตในทุกสิ่ง (Internet of
Things) เป็นแนวคิดการทำให้อุปกรณ์หลากหลายชนิด
เช่น คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เซ็นเซอร์ เชื่อมต่อกับเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้
ทำให้อุปกรณ์เหล่านี้เก็บบันทึกข้อมูลติดต่อสื่อสาร แลกเปลี่ยนข้อมูล
และทำงานร่วมกันได้อย่างอัตโนมัติ
อีกทั้งยังส่งผลให้มนุษย์ควบคุมอุปกรณ์ดังกล่าวนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
อีกทั้งยังสามารถเข้าถึงข้อมูลจากอุปกรณ์การใช้งานได้หลากหลายขึ้น
เพื่อนำไปใช้ประโยชน์หรือวิเคราะห์ข้อมูลในด้านต่างๆ ได้อย่างถูกต้อง แม่นยำ
อินเทอร์เน็ตในทุกสิ่งถูกคิดขึ้นเมื่อปี
ค.ศ. 1999 โดย เดวิน แอชตัน (Kevin Ashton) ที่ได้รับการขนานนามว่า
เป็นบิดาแห่ง Intenet of Thigs โดยแนวคิดของ IoT นั้นถูกคิดค้นภายใต้โครงการ Auto-ID Center
ที่สถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ (Massachusetts
Institute of Technology: MIT) ซึ่งโครงการดังกล่าวให้อุปกรณ์ RFID Sensors ต่าง ๆ เชื่อมต่อกันได้โดยแอชตันได้นิยามความหมายของคำว่า
Internet of
Things ว่าอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ใด
ๆ ก็ตามที่สื่อสารกันได้ก็ถือเป็น Internet-like หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์
ที่สื่อสารแบบเดียวกันกับระบบอินเทอร์เน็ตนั้น โดยใช้คำว่า Things แทนอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ ที่ใช้ในการเชื่อมต่อ
1.1 องค์ประกอบของเทคโนโลยี IOT
เทคโนโลยี IT ในปัจจุบันประกอบด้วยองค์ประกอบที่ทำงานประสานกัน
3 ส่วน ดังนี้
Smart Device
เป็นอุปกรณ์ชาญฉลาดหรืออุปกรณ์ที่มีส่วนประกอบของหน่วยประมวลผล
เช่น ไมโครโพรเซสเซอร์ (Microprocessor) เซ็นเซอร์ (Sensor) อุปกรณ์สื่อสาร (Communication Device)
อยู่ภายใน
เพื่อใช้สำหรับแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่าง Smart Device และระบบแม่ข่ายในการประมวลผล เช่น แผงวงจรไมโครโพรเซสเซอร์ที่ติดตั้งเซ็นเซอร์ตรวจจับอุณหภูมิ
Cloud Computing หรือ Wireless Network
เป็นสื่อกลางในการรับ-ส่งข้อมูล
หรือเป็นหน่วยประมวลผลกลางที่รับข้อมูลจาก Smart Device แล้วส่งต่อไปยังผู้ใช้งาน
ซึ่งมีทั้งการส่งข้อมูลผ่านระบบ Wireless ไปยังผู้ใช้และการส่งผ่าน Cloud Computer ซึ่งการส่งข้อมูลผ่าน Cloud จะช่วยรองรับการใช้งาน Smart Device จำนวนมากกว่าและระยะทางไกลกว่าระบบ Wireless
Dashboard
เป็นส่วนที่ใช้แสดงผลและควบคุมการทำงานของผู้ใช้
โดยอาจอยู่ในรูปแบบของอุปกรณ์หรือแอปพลิเคชันในคอมพิวเตอร์หรือโทรศัพท์มือถือ
โดยผู้ใช้สามารถดูข้อมูลที่ Smart Device ส่งมาหรือตรวจสอบสถานะของอุปกรณ์และระบบ
รวมถึงถ่ายทอดคำสั่งใหม่ไปยัง Smart Device ได้จากส่วนนี้
1.2
ตัวอย่างอุปกรณ์สำหรับเทคโนโลยี IOT
อุปกรณ์ที่สามารถมาใช้สำหรับเทคโนโลยี IoT สมารถเลือกใช้งานได้หลากหลายประเภทดังนี้
1. เซ็นเซอร์ (Sensor) เป็นชุดอุปกรณ์ วงจร
หรือระบบที่ทำหน้าที่ตรวจวัดการเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติ หรือลักษณะของสิ่งต่าง ๆ
โดยรอบวัตถุเป้าหมาย เช่น เซ็นเซอร์ตรวจจับความเค (G-sensor) เซ็นเซอตรวจวัดระดับเสียง (Sound Sensor) เซ็นเซอร์ตรวจจับแสงสว่าง (Light Sensor) เซ็นเซอร์วัดระยะทาง (Ultrasonic
Sensor)
2. คอมพิวเตอร์แบบฝัง (Embedded Computer) เป็นอุปกรณ์ที่สามารถติดตั้งระบบปฏิบัติการได้
เปรียบเสมือนกับเป็นคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก
เป็นอุปกรณ์ที่มีส่วนของการติดต่อผู้ใช้งานส่วนของการควบคุมและผสานการทำงนของฮาร์ดแวร์ต่าง
ๆ อีกทั้งยังสามารถพัฒนาซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมต่าง ๆ ที่ติดตั้งลงไปได้
รวมถึงการต่อเข้ากับฮาร์ดแวร์ต่าง ๆ ทั้งอุปกรณ์ไมโครคอนโทรลเลอร์
หรืออุปกรณ์เซ็นเซอร์ เช่น Raspberry Pi, Orange Pi, Banana Pi
3. ไมโครคอนโทรลเลอร์ (Microcontroller) เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้ควบคุมอุปกรณ์ไฟฟ้าหรือระบบอิเล็กทรอนิกส์ต่าง
ๆ เปรียบเสมือนคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก คล้ายคลึงกับคอมพิวเตอร์แบบฝังแต่ไม่มีระบบปฏิบัติการ
สามารถป้อนชุดคำสั่งให้ปฏิบัติงานได้อย่างอัตโนมัติด้วยการเขียนโปรแกรมภาษาต่าง ๆ
ลงบนไมโครคอนโทรลเลอร์ อีกทั้งยังมีความสามารถในการติดต่อและควบคุมการทำงานของฮาร์ดแวร์อื่น
ๆ ได้อีกด้วย เช่น Arduino, NodeMCU, Micro:bit, MicroPython, Kidbright
1.3
ข้อดี-ข้อเสียของเทคโนโลยี IoT
การนำเทคโนโลยี IoT ไปใช้งานในด้านต่าง ๆ
มีทั้งข้อดีและข้อเสีย ดังนี้
ข้อดี
1. ช่วยอำนวยความสะดวกสบายในการทำงานและการดำเนินชีวิต
2. เพิ่มความสะดวกรวดเร็วและประสิทธิภาพในการทำงาน
ทำให้สามารถทำงานไดอย่างรวดเร็ว ถูกต้อง และแม่นยำขึ้นได้
3. ช่วยลดต้นทุนในด้านต่าง ๆ เช่น ต้นทุนในการจ้างแรงงาน
ต้นทุนในการผลิต
ข้อเสีย
1. IoT เป็นการทำงานด้วยระบบอินเทอร์เน็ตหากไม่สามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้
จะทำให้ IoT ทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ
2. อุปกรณ์ถูกเชื่อมโยงกันด้วยเครือข่ายเดียวกัน
ทำให้ต้องบำรุงและรักษาความปลอดภัยของข้อมูลและซอฟต์แวร์อยู่เสมอ
3. หากมีอุปกรณ์ตัวใดตัวหนึ่งประมวลผลผิดพลาด
อาจส่งผลให้อุปกรณ์อื่นๆ ทีเชื่อมต่ออยู่ด้วยประมวลผลผิดพลาดด้วยเช่นกัน
1.4 ตัวอย่างการนำเทคโนโลยี IoT
มาใช้งาน
ในปัจจุบันมีการนำเทคโนโลยีมาใช้ในชีวิตประจำวัน
เพื่ออำนวยความสะดวกสบายให้กับผู้ใช้งาน
โดยตัวอย่างของเทคโนโลยีที่สามารถนำมาใช้จริงได้ มีดังนี้
1. บ้านอัจฉริยะ (Smat Home) เป็นการใช้เทคโนโลยี IoT เพื่อรวมการเชื่อมต่อของเครื่องใช้ไฟฟ้า
การบริการ การตรวจตรดูแล รวมทั้งสามารถเข้าถึงการควบคุมอุปกรณ์ต่าง ๆ ได้ โดยควบคุมได้ทั้งจากภายในบ้านเองหรือควบคุมจากภายนอกก็ได้
โครงสร้างของ Smart Home จะต้องประกอบไปด้วย 3 ส่วนหลัก ได้แก่ ส่วนแรกคืออุปกรณ์ Smart Device ที่ใช้สำหรับเชื่อมโยงเข้ากับส่วนที่สอง
คือ เครือข่าย (Smart Home Network) และส่วนที่สาม คือ ส่วนควบคุมหลักที่เปรียบเสมือนสมองของบ้าน
ซึ่งสามารถเชียนโปรแกรมให้บ้านทำงานตามต้องการได้
2. รถยนต์อัจฉริยะ (Smart Car) เป็นรถยนต์ที่มีการติดตั้งระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตแบบไร้สาย
ซึ่งจะช่วยให้รถยนต์สามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต
และแบ่งปันอินเทอร์เน็ตให้กับอุปกรณ์อื่นๆ
ที่อยู่ภายในและภายนอกรถยนต์ได้แนวคิดของรถยนต์อัจฉริยะมีการติดตั้งเทคโนโลยีพิเศษที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ขับรถทั้งในด้านความปลอดภัยและความสะดวกสบาย
โดยมีการเพิ่มเติมในเรื่องของการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต
ส่งผลให้รถยนต์สามารถติดต่อสื่อสารกับสิ่งอื่น ๆ ได้เองโดยอัตโนมัติ เช่น
การสั่งการด้วยเสียงการประมวลผลแผนที่ที่ใช้ในการเดินทางการขับเคลื่อนโดยไร้คนขับ
3. ระบบฟาร์มอัจฉริยะ (Smart Farm) เป็นระบบที่ช่วยส่งเสริมและควบคุมให้การปฏิบัติงานทางการเกษตรมีความแม่นยำและสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น
โดยแนวคิดของระบบฟาร์มอัจฉริยะนี้ได้นำเซ็นเซอร์ชนิดต่าง ๆ เช่น เซ็นเซอร์วัดแสง เซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิเซ็นเซอร์วัดความชื้นในดิน
ระบบควบคุมหุ่นยนต์ เทคโนโลยีการให้ปุ๋ย น้ำ และยากำจัดแมลงศัตรูพืช
และอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงมาช่วยในการจัดการกับแปลงเพาะปลูก
ทำให้สามารถปลูกพืชได้ตามต้องการแม้ในสภาพอากาศที่แปรปรวนเนื่องจากมีการวัดและควบคุมอัตราของสิ่งต่าง
ๆ ที่พืชต้องใช้ในการเจริญเติบโต
การพัฒนาแอปพลิเคชัน
แอปพลิเคชัน
เป็นโปรแกรมที่ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่ออำนวยความสะดวกในด้านต่าง ๆ
มีการออกแบบมาเพื่อใช้งานในหลายรูปแบบ ถ้าเป็นแอปพลิเคชันสำหรับใช้งานบนคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะหรือโน้ตบุ๊กเรียกว่า
เดสก์ท็อปแอปพลิเคชัน (Desktop
Applications) แต่ถ้าใช้งานบนโทรศัพท์มือถือ แท็บเล็ต
หรืออุปกรณ์พกพาต่าง ๆ จะเรียกว่า โมไบล์แอปพลิเคชั่น (Mobile
Applications) โดยแอปพลิเคชันแบ่งได้ 2 ประเภท ดังนี้
1. แอปพลิเคชันระบบ
เป็นส่วนของซอฟต์แวร์พื้นฐานหรือระบบปฏิบัติการ (Operating system) ที่เป็นตัวรองรับการใช้งานของแอปพลิเคชันอื่นหรือโปรแกรมต่าง
ๆ ที่ติดตั้งอยู่ภายในอุปกรณ์เทคโนโลยี โดยในปัจจุบันระบบปฏิบัติการที่ได้รับความนิยม
เช่น ระบบปฏิบัติการไอโอเอส (ios) ระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ (Android)
ระบบปฏิบัติการวินโดวส์ (Windows) ระบบปฏิบัติการแมค
(MacOS)
2. แอปพลิเคชันที่ตอบสนองความต้องการของกลุ่มผู้ใช้
เป็นส่วนของโปรแกรมประยุกต์ที่ทำงานภายใต้ระบบปฏิบัติการมีวัตถุประสงค์เฉพาะอย่าง
เช่น เพื่อการศึกษา เพื่อความบันเทิง เพื่อการติดต่อสื่อสาร
โดยแอปพลิเคชันประเภทนี้สามารถแบ่งออกได้หลายกลุ่ม เช่น แอปพลิเคชันกลุ่มเกม
แอปพลิเคชันกลุ่มเครือข่ายสังคมออนไลน์ แอปพลิเคชันกลุ่มมัลติมีเดีย
ในปัจจุบันการใช้งนแอปพลิเคชันได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก
จึงทำให้นักพัฒนาได้พัฒนาแอปพลิเคชันที่สมารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ในหลายด้าน เช่น
1.
แอปพลิเคชันด้านการศึกษา เป็นแอปพลิเคชันที่พัฒนาขึ้นมา เพื่อใช้จัดการห้องเรียนให้มีความสนุกสนาน
และช่วยเพิ่มปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนกับผู้สอนมากยิ่งขึ้นอีกทั้งบางแอปพลิเคชันยังช่วยตรวจสอบการมาโรงเรียนของนักเรียนได้ด้วย
เช่น แอปพลิเคชัน Kahoot!, Plickers, ClassDojo
2.
แอปพลิเคชันด้านสาธารณสุข เป็นแอปพลิเคชันที่พัฒนาขึ้นมา เพื่อช่วยดูแลและจัดการด้านต่าง ๆเกี่ยวกับสุขภาพ
ทั้งเรื่องการรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย การป้องกันและรักษาโรค
การค้นหาโรงพยาบาล ซึ่งในประเทศไทย กระทรวงสาธารณสุขได้พัฒนาแอปพลิเคชันต่าง ๆ
ขึ้นมากมาย เช่น แอปพลิเคชัน H4U, DoctorME, Thai First Aid, EMSCertified
3.
แอปพลิเคชันด้านความบันเทิง เป็นแอปพลิเคชันที่พัฒนาขึ้นมา เพื่อใช้สร้างความบันเทิง
ผ่อนคลายความเครียดของผู้ใช้งานในหลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะอยู่ในรูปแบบของแอปพลิเคชันเกม
แอปพลิเคชันดูหนัง ฟังเพลง เช่น แอปพลิเคชัน JOOX Music, YouTube, Vine
2.1 ขั้นตอนการพัฒนาแอปพลิเคชัน
ในปัจจุบันการนำแอปพลิเคชันต่าง ๆ
ที่พัฒนาขึ้นไปใช้ในกระบวนการทำงานต่าง ๆ ในองค์กรหรือหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน
หรือแม้กระทั่งการนำไปใช้ร่วมกับกิจวัตรประจำวันต่าง ๆ ของมนุษย์
โดยรูปแบบความต้องการในการใช้งานของแอปพลิเคชันก็มีมากขึ้น ทั้งโมไบล์แอปพลิเคชัน
(Mobile Application) เว็บแอปพลิเคชัน
(Web Application) เดสก์ท็อปแอปพลิเคชัน (Desktop
Application) เกม
(Game)
และอินเทอร์เน็ตในทุกสิ่ง (Internet of Things) รวมถึงการใช้งานนวัตกรรมทางเทคโนโลยีมาร่วมกับการใช้งานแอปพลิเคชัน เช่น
เทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม (Augmented Reality: AR) เทคโนโลยีความจริงเสมือน
(Virtual Reality: VR) ดังนั้น การพัฒนาแอปพลิเคชันจึงเป็นเรื่องสำคัญที่ควรเรียนรู้โดยการพัฒนาแอปพลิเคชัน
มี 7 ขั้นตอน ดังนี้
1. กำหนดปัญหา
2. ศึกษาความเป็นไปได้
3. วิเคราะห์ความต้องการแอปพลิเคชัน
4. ออกแบบแอปพลิเคชัน
5. พัฒนาแอปพลิเคชัน
6. ทดสอบแอปพลิเคชัน
7. จัดทำเอกสาร
1. กำหนดปัญหา (Problem Deinition) การกำหนดปัญหาเป็นขั้นตอนการกำหนดขอบเขตของปัญหา
สาเหตุของปัญหาจากการดำเนินงานในปัจจุบัน ความเป็นไปได้ในการสร้างแอปพลิเคชัน
การกำหนดความต้องการระหว่างผู้พัฒนากับผู้ใช้งาน โดยข้อมูลเหล่านี้ได้จากการสัมภาษณ์และการรวบรวมข้อมูลจากการดำเนินงานต่าง
ๆ เพื่อทำการสรุปเป็นข้อกำหนด (Requirement Specification) ที่ชัดเจน
ในขั้นตอนนี้หากเป็นการพัฒนาแอปพลิเคชันที่มีขนาดใหญ่
มีฟังก็ชันการทำงานมากและซับซ้อน อาจเรียกขั้นตอนนี้ว่า ขั้นตอน
การศึกษาความเป็นไปได้ โดยการกำหนดปัญหาสามารถปฏิบัติได้ ดังนี้
1) รับรู้สภาพปัญหาที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงาน
2) สรุปหาสาเหตุของปัญหาและสรุปผลเพื่อพิจารณา
3) ศึกษาความเป็นไปได้ในมุมต่าง ๆ เช่น
ด้านต้นทุน ด้านทรัพยากร
4)
รวบรวมความต้องการจากผู้ที่เกี่ยวข้องด้วยวิธีการต่าง ๆ เช่น การรวบรวมเอกสาร การสัมภาษณ์
การสังเกต การใช้แบบสอบถาม
5)
สรุปความต้องการและข้อกำหนดของผู้พัฒนาและผู้ให้ทำการพัฒนาแอปพลิเคชัน
2. ศึกษาความป็นไปได้ (Feasibility Study) การศึกษาความเป็นไปได้ในการพัฒนาแอปพลิเคชันว่า
แอปพลิเคชันนั้นจะบรรลุผลสำเร็จได้หรือไม่ โดยการศึกษาความเป็นไปได้
สามารถปฏิบัติได้ ดังนี้
1) กำหนดว่าปัญหาคืออะไร และตัดสินใจว่าจะพัฒนาแอปพลิเคชันนั้นหรือไม่
2) มีความเป็นไปได้ในการพัฒนาทางเทคนิดหรือไม่
3)
มีความเป็นไปได้ทางบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาว่ามีความพร้อม มีความรู้และมีเวลาที่จะพัฒนาหรือไม่
4) มีความเป็นไปได้ทางเศรษฐศาสตร์หรือไม่
เช่น เงินลงทุน ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ตลอดช่วงเวลาในการพัฒนแอปพลิเคชัน
3. วิเคราะห์ความต้องการแอปพลิเคชัน (Analyzing Application Needs) เป็นการวิเคราะห์ว่า
แอปพลิเคชันที่จะพัฒนานั้นทำงานอย่างไร โดยการวิเคราะห์ความต้องการของแอปพลิเคชันสามารถปฏิบัติได้
ดังนี้
1) ศึกษาการทำงานเดิมว่าทำงานอย่างไร
(ถ้ามี)
2) กำหนดความต้องการของแอปพลิเคชัน
3) วิเคราะห์และออกแบบ
โดยศึกษาเอกสารที่มีอยู่และศึกษากระบวนการทำงานเดิม (ถ้ามี)
เพื่อให้เข้าใจขั้นตอนการทำงาน
4) เขียนแผนภาพการทำงานของกระบวนการทำงานเดิม
และกระบวนการทำงานใหม่ที่มีการนำแอปพลิเคชันเข้าไปใช้งาน
5) สร้างข้อมูลของตัวแอปพลิเคชัน
4. ออกแบบแอปพลิเคชัน (Designing the Applications) การออกแบบแอปพลิเคชันเป็นการออกแบบการทำงานและความสัมพันธ์ระหว่างแอปพลิเคชันและส่วนที่ใช้ติดต่อกับผู้ใช้งาน
โดยจะต้องออกแบบให้ผู้ใช้งานใช้งานได้สะดวกสบายที่สุด ไม่ยุ่งยากซับซ้อน
โดยการออกแบบแอปพลิเคชันสามารถปฏิบัติได้ ดังนี้
1) ออกแบบโครงสร้างการทำงานของแอปพลิเคชัน
2) ออกแบบโครงสร้างของข้อมูลที่ใช้ในแอปพลิเคชัน
3) ออกแบบส่วนติดต่อผู้ใช้งาน
4) ออกแบบรายงาน
5. พัฒนาแอปพลิเคชัน (Developing) การพัฒนาแอปพลิเคชันเป็นการลงมือเขียนโปรแกรมคำสั่งที่จะใช้พัฒนาแอปพลิเคชันด้วยภาษาคอมพิวเตอร์ที่รองรับ
เช่น Python, C, Java โดยการพัฒนาแอปพลิเคชันสามารถปฏิบัติได้
ดังนี้
1) เขียนชุดคำสั่งโปรแกรม
2) คอมไพล์ชุดคำสั่งโปรแกรม
3) ทดสอบการทำงานของแอปพลิเคชัน
6. ทดสอบแอปพลิเคชัน (Testing and Maintaining the System) เป็นการทดสอบการทำงานของแอปพลิเคชัน
ซึ่งสามารถปฏิบัติได้ ดังนี้
1) ทดสอบการทำงานของแอปพลิเคชันโดยผู้ทดสอบระบบ
ซึ่งจะทดสอบการทำงานของแต่ละฟังก์ชันว่า มีการทำงานถูกต้องและเป็นไปตามความต้องการของผู้ใช้งานหรือไม่
ถ้าพบข้อผิดพลาดให้แก้ไขให้ถูกต้อง
2) ทดสอบโดยผู้ใช้งานจริง ถ้าพบข้อผิดพลาดให้ส่งกลับไปให้นักพัฒนาแอปพลิเคชันปรับปรุงแก้ไข
7. จัดทำเอกสาร (Documenting) เป็นการจัดทำเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการใช้งานแอปพลิเคชัน
ซึ่งสามารถปฏิบัติได้ ดังนี้
1) จัดทำคู่มือการติดตั้งแอปพลิเคชัน
2) จัดทำคู่มือการใช้งานแอปพลิเคชัน
2.2 ซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการพัฒนาแอปพลิเคชัน
ในปัจจุบันมีแอปพลิเคชันต่าง ๆ
เกิดขึ้นมากมาย โดยแต่ละแอปพลิเคชันจะถูกสร้างหรือพัฒนาขึ้นด้วยภาษาโปรแกรมต่าง ๆ
ทั้งที่อยู่ในรูปแบบของการเขียนชุดคำสั่งโดยการพิมพ์คำสั่งแต่ละคำสั่งโดยใช้แป้นพิมพ์
เช่น โปรแกรมภาษาไพทอน (Python)
ภาษาจาวา (Java) ภาษาซี (C) หรือในรูปแบบบล็อกคำสั่ง โดยใช้วิธีการลากบล็อกคำสั่งไปต่อในส่วนที่ต้องการ
เช่น โปรแกรมภาษา Scratch, Blockly, Snap โดยในที่นี้จะเลือกใช้โปรแกรมภาษาไพทอน
โปรแกรมภาษาไพทอน ถือว่าเป็นโปรแกรมภาษาคอมพิวเตอร์ระดับสูงที่ออกแบบมาให้เป็นภาษาสคริปต์ที่สามารถอ่านง่าย
โดยตัดความซับซ้อนของโครงสร้างและไวยากรณ์ของภาษาออกไปและมีการทำงานแบบอินเทอร์พรีเตอร์
ซึ่งเป็นการแปลชุดคำสั่งทีละบรรทัด เพื่อป้อนเข้าสู่หน่วยประมวลผลให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามที่เราต้องการ
จุดเด่นของภาษาไพทอน
-
ไวยากรณ์ที่เขียนอ่านง่าย
-
มีความปลอดภัยสูง เนื่องจากภาษาไพทอนทำงานอยู่ในด้าน Server เป็นหลัก
-
ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการจัดซื้อโปรแกรมต้นฉบับ
-
โคดที่เขียนด้วยภาษาไพทอนนำไปดำเนินงานบนระบบปฏิบัติการได้หลากหลาย
จุดด้อยของภาษาไพทอน
-
การทำงานของโปรแกรมผ่านอินเทอร์พรีเตอร์จะช้ากว่าการทำงานจากโปรแกรมที่ผ่านการแปลโปรแกรมเป็นภาษาเครื่องแล้ว
เพราะอินเทอร์พรีเตอร์จะต้องแปลแต่ละคำสั่งในระหว่างการทำงานว่าจะต้องทำอะไรในขั้นตอนต่อไป
ในปัจจุบันมีการพัฒนาแอปพลิเคชันด้วยโปรแกรมภาษาไพทอนจำนวนมาก
เพราะเป็นภาษาที่อ่านแล้วเข้าใจง่าย ไม่ซับซ้อน
ตัวอย่างโปรแกรมการพัฒนาแอปพลิเคชันด้วยโปรแกรมภาษาไพทอน มีดังนี้
1.
โปรแกรมคำนวณหาอัตรแลกเปลี่ยนเงินบาทไทย (THB) เป็นเงินดอลลาร์ (USD) โปรแกรมภาษาไพทอน
คำนวณหาอัตรแลกเปลี่ยนเงินบาทไทยเป็นเงินดอลลาร์ โดยการรับค่าเงินบาทไทยที่ต้องการคำนวณป็นเงินดอลลร์
และอัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทไทยต่อ 1 ดอลลาร์ทางแป้นพิมพ์ แล้วแสดงผลเงินดอลลาร์ที่คำนวณได้ทางหน้าจอ
เพื่อให้โปรแกรมแสดงผล ดังนี้
==========================
คำนวณอัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทไทยเป็นเงินดอลลาร์
==========================
ป้อนอัตราแลกเปลี่ยนงินบาทไทยต่อ
1 ดอลลาร์ : <<input>>
ป้อนจำนวนเงินบาทไทย
: <<input>>
==========================
คำนวณเป็นเงินดอลลาร์ได้
: <<output>> คอลลาร์
==========================
ภาษาธรรมชาติ (Natural
Language)
1. เริ่มทำงาน
2. นำเข้าข้อมูล อัตราแลกเปลี่ยน
3. นำเข้าข้อมูล เงินบาทไทย
4. คำนวณ เงินดอลลาร์ = เงินบาทไทย
/ อัตราแลกเปลี่ยน
5. แสดงผล เงินดอลลาร์
6. จบการทำงาน
รหัสลำลอง (Pseudo
Code)
1. START
2. INPUT rate
3. INPUT baht
4. COMPUTE dollar = baht/rate
5. OUTPUT dollar
6. STOP
สรุป
เทคโนโลยี IoT
IoT หรือ Internet of Things เป็นแนวคิดการทำให้อุปกรณ์หลากหลายชนิด สามารถเชื่อมต่อกับเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้
เช่น คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์เคลื่อนที่ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เซ็นเซอร์ อุปกรณ์เหล่านี้สามารถเก็บบันทึกข้อมูล
ติดต่อสื่อสาร แลกเปลี่ยนข้อมูล และทำงานร่วมกันได้อย่างอัตโนติ
ส่งผลให้มนุษย์สามารถควบคุมอุปกรณ์ดังกล่าวนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
และสามารถเข้าถึงข้อมูลจากอุปกรณ์ได้หลากหลาย เพื่อนำไปใช้ประโยชน์หรือวิเคราะห์ข้อมูลในด้านต่าง
ๆ ได้อย่างถูกต้อง แม่นยำ
IoT ประกอบด้วยส่วนที่ทำงานประสานกัน 3 ส่วน คือ
1. Smart Device
2. Cloud Computing หรือ Wireless Network
3. Dashboard
การพัฒนาแอปพลิเคชัน
แอปพลิเคชันเป็นโปรแกรมที่ถูกพัฒนขึ้นมาเพื่ออำนวยความสะดวกในด้านต่าง
ๆ ซึ่งออกแบบมาเพื่อใช้งานหลายรูปแบบ ทั้งเดสก์ท็อปแอปพลิเคชันและโมไบล์แอปพลิเคชัน
โดยในการพัฒนาแอปพลิเคชันจะต้องปฏิบัติตามขั้นตอน 7 ขั้นตอน ดังนี้
1. กำหนดปัญหา
2. ศึกษาความเป็นไปได้
3. วิเคราะห์ความต้องการแอปพลิเคชัน
4. ออกแบบแอปพลิเคชัน
5. พัฒนาแอปพลิเคชัน
6. ทดสอบแอปพลิเคชัน
7. จัดทำเอกสาร
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น