คำอธิบายรายวิชา
ศึกษาเกี่ยวกับการจัดการข้อมูลและสารสารเทศ
การใช้ซอฟต์แวร์ในการจัดการข้อมูลและสารสนเทศ
ศึกษาเกี่ยวกับการประเมินความน่าเชื่อถือของข้อมูล การรู้เท่าทันสื่อ
ศึกษาเกี่ยวกับการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศและกฎหมายคอมพิวเตอร์
ศึกษาเกี่ยวกับแอปพลิเคชัน เทคโนโลยี IoT และการพัฒนาแอปพลิเคชัน
โดยอาศัยกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติ
ฝึกทักษะการคิด เผชิญสถานการณ์การแก้ปัญหา วางแผนการเรียนรู้ ตรวจสอบการเรียนรู้
และสร้างองค์ความรู้ใหม่ด้วยตนเองผ่านกระบวนการคิดและปฏิบัติ
เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้
ความเข้าใจ มีทักษะการคิดเชิงคำนวณ การคิดวิเคราะห์ การแก้ปัญหาเป็นขั้นตอน
และเป็นระบบ มีทักษะในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ รักษาข้อมูลส่วนตัว
และการสื่อสารเบื้องต้นในการแก้ปัญหา ที่พบในชีวิตจริงได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนนำความรู้ความเข้าใจในวิชาวิทยาศาสตร์
และนำเทคโนโลยีใหม่ที่เกิดขึ้นไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมและการดำรงชีวิต
จนสามารถพัฒนากระบวนการคิดและจินตนาการ
ความสามารถในการแก้ปัญหาและการจัดการทักษะในการสื่อสาร ความสามารถในการตัดสินใจ
และเป็นผู้มีจิตวิทยาศาสตร์ มีคุณธรรม จริยธรรม
ค่านิยมในการใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอย่างสร้างสรรค์
โครงสร้างรายวิชา
เทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) ชั้น ม.3
เทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) ชั้น ม.3
ลำดับที่
|
ชื่อหน่วยการเรียนรู้
|
มาตรฐาน
การเรียนรู้/ตัวชี้วัด
|
มโนทัศน์สำคัญ
|
เวลา
(ชม.)
|
1.
|
การจัดการข้อมูล
และสารสนเทศ |
ว 4.2 ม.3/2
|
การรวบรวมข้อมูล เป็นขั้นตอนที่สำคัญที่สุดของการจัดการข้อมูลและสารสนเทศ
ดังนั้น
ควรมีความเข้าใจเกี่ยวกับลักษณะและประเภทของข้อมูล ตลอดจนวิธีการรวบรวมข้อมูล เพื่อจะได้นำไปประยุกต์ใช้ได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม
การประมวลผลข้อมูล
เป็นการคำนวณหรือการเปรียบเทียบ เพื่อให้ข้อมูลอยู่ในรูปแบบ
ที่เป็นประโยชน์ตรงตามความต้องการ การจัดการข้อมูลและสารสนเทศมีการนำซอฟต์แวร์ต่าง ๆ มาช่วยในการจัดการข้อมูล โดยมีทั้งซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล ซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการประมวลผลข้อมูล และซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการนำเสนอข้อมูล เพื่อการจัดการข้อมูลและสารสนเทศ อย่างมีประสิทธิภาพ |
9
|
2.
|
ความน่าเชื่อถือ
ของข้อมูล |
ว 4.2
ม.3/3
|
การสืบค้นแหล่งข้อมูลเป็นกระบวนการค้นหาข้อมูลตามที่ต้องการ
โดยใช้เครื่องมือ
ต่าง ๆ อีกทั้งข้อมูลที่ได้จะต้องมีการประเมินความน่าเชื่อถือของข้อมูล เพื่อคัดเลือกข้อมูล ที่ได้จากการสืบค้นข้อมูลที่มีคุณค่า มีความน่าเชื่อถือ เป็นการพิจารณาเพื่อคัดเลือกจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ ซึ่งจากการประเมินความน่าเชื่อถือจะทำให้เราได้ข้อมูลที่มีคุณค่า และนำข้อมูลไปประยุกต์ใช้อย่างเหมาะสม
การรู้เท่าทันสื่อเป็นลักษณะสมรรถนะที่ครอบคลุมทักษะแห่งศตวรรษที่
21 ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับความสามารถในการเข้าถึงสารสนเทศผ่านสื่อ และเทคโนโลยีดิจิทัล การเลือก รับ วิเคราะห์ ประเมิน และนำข้อมูลที่ได้รับไปใช้ในทางสร้างสรรค์
|
8
|
3.
|
เทคโนโลยีสารสนเทศ
|
ว 4.2
ม.3/4
|
การใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศโดยคำนึงถึงความปลอดภัยในการใช้งาน
เช่น
การทำธุรกรรม ออนไลน์ การซื้อสินค้าออนไลน์ และการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างมีจิตสำนึก และจริยธรรมที่ดี คำนึงผลกระทบที่อาจส่งผลต่อผู้อื่น ภายใต้กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศหลายฉบับ เช่น พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พระราชบัญญัติ การรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ โดยพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 และพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวคอมพิวเตอร์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2560 หรือลิขสิทธิ์ เป็นผลงานที่เกิดจากการใช้ปัญญา ความรู้ความสามารถในการสร้างสรรค์ผลงาน ซึ่งถือว่าเป็นทรัพย์สินทางปัญญาประเภทหนึ่ง ที่กฎหมายให้ความคุ้มครอง |
7
|
4.
|
แอปพลิเคชัน
|
ว 4.2
ม.3/1
|
การทำให้อุปกรณ์หลายตัวสามารถสื่อสาร แลกเปลี่ยนข้อมูล
และทำงานร่วมกันได้นั้น เรียกว่า
เทคโนโลยี IoT ต้องอาศัยความสามารถของ Smart
Device ซึ่งอุปกรณ์ที่มีหน่วยประมวลผล หรือ เซนเซอร์ภายในตัว เพื่อส่งข้อมูลผ่าน Cloud
Computing หรือ Wireless Network เป็นตัวกลางในการรับส่งข้อมูลภายในเครือข่ายเพื่อประมวลผล และอาศัย Dashboard สำหรับแสดงผลและใช้ควบคุมการทำงานจากผู้ใช้
แอปพลิเคชัน เป็นโปรแกรมที่ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่ออำนวยในด้านต่าง ๆ มีการออกแบบมาเพื่อใช้งานในหลายรูปแบบ ซึ่งการพัฒนาโปรแกรมในปัจจุบันนิยมใช้โปรแกรมภาษาไพทอน (Python) เพราะเป็นภาษาที่อ่านแล้วเข้าใจง่าย ไม่ซับซ้อน |
14
|
หมายเหตุ : 2 ชั่วโมงที่หายไปให้ใช้สำหรับการสอบกลางภาคหรือการสอบปลายภาค
ทั้งนี้ยืดหยุ่นได้ตามดุลยพินิจของครูผู้สอน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น